สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,768 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,848 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,812 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,915 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,910 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 32,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,370 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 902 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,919 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 905 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,144  บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 225 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 516 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,688 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 510 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,551 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 137 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,585 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 516 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,757 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 172 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.2785 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดว่า ในปี 2568 ไทยจะมีผลผลิตประมาณ 34 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 22 ล้านตันข้าวสาร จากปกติผลผลิตเฉลี่ยที่ 31 – 32 ล้านตันข้าวเปลือก โดยใช้บริโภคในประเทศและเป็นเมล็ดพันธุ์ประมาณ 11 ล้านตันข้าวสาร จะเห็นได้ว่าไทยมีปริมาณข้าวมากกว่าความต้องการในประเทศสูงถึง 11 ล้านตันข้าวสาร เป็นผลมาจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำในทุกเขื่อน
มีมากกว่าร้อยละ 80 ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวดี โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ และคาดว่าผลผลิตในฤดูนาปรังจะดีตามไปด้วย ซึ่งไทยต้องมีการบริหารจัดการข้าวส่วนเพิ่มในปี 2568 ให้ดี และอาจต้องเผชิญกับปัจจัยระยะสั้นที่สำคัญ คือ ราคาและค่าเงินบาท สำหรับด้านการส่งออก ปี 2568 เมื่ออินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้ง ซึ่งในสถานการณ์ปกติอินเดียจะส่งออกข้าวขาว 5 - 6 ล้านตัน แต่ในช่วงที่ห้ามการส่งออกจะใช้การขายแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ในปริมาณ 5 - 6 แสนตัน ดังนั้น อินเดียจะได้ส่วนแบ่งในตลาดข้าวขาวกลับคืนไป เนื่องจากราคาส่งออกข้าวอินเดียถูกกว่าข้าวไทย โดยข้าวอินเดียมีราคาเฉลี่ยตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 15,083 บาท) ส่วนข้าวไทยราคาเฉลี่ยตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 16,454 บาท) รวมถึงตลาดข้าวนึ่งอินเดียอาจแย่งตลาดแอฟริกาจากไทยด้วยเช่นกัน เพราะคาดว่า ในปี 2568 อินเดียจะมีปริมาณผลผลิตมากถึง 142 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่อินเดียจะขยายการส่งออกข้าวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากค่าเงินบาทอ่อนค่าและมีเสถียรภาพอาจทำให้ข้าวไทยยังคงสามารถแข่งขันได้ และคาดว่าจะส่งออกได้มากกว่า 7 ล้านตัน ในปี 2568
นายวันนิวัต กิติเรียงลาภ รองเลขาธิการสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดการณ์การส่งออกข้าวของไทย
ปี 2568 ว่า จะมีปริมาณ 7 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวขาว 3 – 3.5 ล้านตัน ข้าวนึ่ง 1.5 ล้านตัน ข้าวหอมมะลิ 1.3 ล้านตัน
ข้าวหอมปทุม 0.36 ล้านตัน และข้าวเหนียว 0.14 – 0.17 ล้านตัน (หากราคาข้าวเหนียวในประเทศสูงจะไม่มีการส่งออก) ทั้งนี้ หากไทยมีข้าวพื้นนุ่มประมาณ 0.3 – 0.4 ล้านตัน จะสามารถแทรกเข้าไปในตลาดฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่คาดว่าจะนำเข้าเฉลี่ย 3.2 ล้านตัน 1.0 ล้านตัน และ 0.62 ล้านตัน ตามลำดับ ซึ่งจะส่งให้ภาพรวมการส่งออกข้าวไทยมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ นายสมเกียรติ มรรคยาธร เลขาธิการสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงสถานการณ์ของข้าวถุงในช่วงที่ผ่านมาว่า ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ข้าวถุงยังไม่มีการปรับราคา เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดสูง อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมากลับเป็นโอกาสในการเปิดตลาดใหม่สำหรับกลุ่ม “ข้าวหอม” ซึ่งเป็นข้าวผสมระหว่างข้าวขาวกับข้าวหอมมะลิ โดยกลุ่มข้าวหอมนี้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีความพอใจเพราะเป็นกลุ่มข้าวพื้นนุ่มที่มีคุณภาพ แต่ราคาไม่สูงเท่าข้าวหอมมะลิและคาดว่า ในปี 2568 ราคาข้าวยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดข้าว โดยเฉพาะตลาดข้าวหอม
มีแนวโน้มที่จะสามารถเติบโตได้ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงทรงตัว ในขณะที่ข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ
ยังมีการแข่งขันสูง ดังนั้น การปรับราคาจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจข้าวถุงในปัจจุบัน
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.2785 บาท
2) อินเดีย
ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2567 รัฐบาลอินเดียได้ยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติและกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ (Minimum Export Price; MEP) ที่ 490 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน (16,796 บาทต่อตัน) ก่อนที่จะมีการยกเลิกข้อกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 แต่การห้ามส่งออกข้าวหัก 100% ยังคงมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ Platts ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเครือข่ายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ระดับโลก กล่าวว่า รัฐบาลอินเดียกําลังพิจารณาการยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวหัก 100% ซึ่งคาดว่า
จะช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวหักของอินเดียได้ และถือเป็นส่วนสำคัญในการตอบสนองความต้องการอาหาร
ด้านมนุษยธรรมของประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศ โดยเฉพาะในแอฟริกาตะวันตกที่มีความต้องการข้าวหักสูง ประกอบกับอินเดียผลิตข้าวขาวหักได้ประมาณ 15 ล้านตัน จะช่วยเพิ่มศักยภาพการส่งออกได้ประมาณ 1.6 ล้านตัน และการยกเลิกข้อจำกัดนี้จะช่วยลดการทุจริตในกระบวนการส่งออกที่เกิดขึ้นจากผู้ส่งออกบางรายที่พยายามหลีกเลี่ยงข้อบังคับการห้ามส่งออกข้าวหัก
อย่างไรก็ตาม ผู้เกี่ยวข้องในตลาดข้าวมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการตัดสินใจยกเลิกการห้ามส่งออกดังกล่าวของรัฐบาลอินเดีย โดยผู้ประกอบการค้าข้าวรายหนึ่ง กล่าวว่า การอนุญาตให้ส่งออกข้าวหักจะทำให้ตลาดข้าวขาว 25% หดตัวลง เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักผสมข้าวหักกับข้าวขาว 25% อาจส่งผลให้อินเดียสูญเสียตลาดข้าวขาว 25% ให้กับข้าวหัก และคาดว่าราคาข้าวขาวจะได้รับผลกระทบอย่างกะทันหัน และตลาดข้าวหักอาจใช้เวลานานกว่าจะมีเสถียรภาพ อีกทั้งสต็อกข้าวขององค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India) มีเพียงข้าวสารและข้าวเปลือกเท่านั้น ซึ่งในการผลิตเอทานอล รัฐบาลและอุตสาหกรรมเอทานอลจะต้องซื้อข้าวหักจากโรงสี แต่หากการส่งออกข้าวหักเปิดกว้างขึ้นอาจสร้างแรงกดดันต่ออุปทานข้าวหักที่มีจำกัดและส่งผลให้
ราคาข้าวหักสูงขึ้น
ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 Platts (บริษัทที่ให้บริการด้านเครือข่ายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ระดับโลก) ประเมินราคาข้าวหักจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
ชนิดข้าว อินเดีย* ไทย ปากีสถาน เวียดนาม เมียนมา
ข้าวหัก 100% A1 Super    us/ตัน   393      
  บาท/ตัน   13,471      
ข้าวหัก 100%                  us/ตัน 320   372 369  
  บาท/ตัน 10,969   12,752 12,649  
ข้าวหัก B1 และ B2            us/ตัน         330
  บาท/ตัน         11,312
* ราคาเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ก่อนมีการห้ามส่งออกข้าวหัก
ข้อมูลของ S&P Global Commodity Insights ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำในด้านข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตลาดสินค้าและพลังงาน คาดการณ์ว่าอินเดียจะส่งออกข้าวได้ 20.5 ล้านตัน ในปีการตลาด 2567/68 (ตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เมื่อเทียบกับปี 2566/67
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.2785 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.26 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 287.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,847.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 285.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,820.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 27.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 421.00 เซนต์ (5,748.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 428.00 เซนต์ (5,873.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 125.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน 
พฤศจิกายน 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.80 ล้านตัน (ร้อยละ 6.62 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์  ที่ผ่านมา เนื่องจากมันสำปะหลังมีคุณภาพส่งผลให้ความต้องการของผู้ประกอบการอยู่ในระดับทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.03 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.00
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ6.22 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.41 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.96
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.78 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.35
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 206.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,130 บาทต่อตัน) ราคา ลดลงจากตันละ 211.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,320 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.37
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 457.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,840 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 460.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,980 บาทต่อตัน) คิดเป็นร้อยละ 0.65



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.113 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.200 ล้านตันของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 7.82 และร้อยละ 7.50 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.71 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 41.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.33 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.18
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ   
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,000.54 ริงกิตมาเลเซีย (39.38 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,911.99 ริงกิตมาเลเซีย (38.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.80
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
        - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สื่อท้องถิ่นของจีน รายงานว่า ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 โรงงานน้ำตาลในมณฑลกว่างซี (Guangxi) ประมาณร้อยละ 70 ได้เริ่มเปิดหีบแล้ว อีกทั้งมีการนำเข้าอ้อยจากเวียดนามเข้ามาในเขตหลงโจว (Longzhou) ของมณฑลกว่างซี โดยคาดการณ์ว่า ผลผลิตน้ำตาลในมณฑลกว่างซีจะเพิ่มขึ้น 800,000 ตัน จาก 6.20 ล้านตัน
ที่ผลิตได้ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปริมาณผลผลิตจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ราคาน้ำตาลภายในประเทศยังคงทรงตัว
          - บริษัทที่ปรึกษา GCMA คาดการณ์ปริมาณผลผลิตน้ำตาลของเม็กซิโกในปี 2567/2568 ที่ 5.10 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์อย่างเป็นทางการที่ 5.07 ล้านตัน ขณะที่ Czarnikow คาดการณ์ว่า ปริมาณผลผลิตน้ำตาลของเม็กซิโกจะอยู่ที่ 5 ล้านตัน แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขคาดการณ์อาจมีความผันผวนจากผลกระทบของภัยแล้ง
ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ตัวเลขอาจปรับลดลงอีกครั้งที่ 4.70 ล้านตัน โดย Czarnikow ได้คาดการณ์เพิ่มเติมว่า เม็กซิโกจะส่งออกน้ำตาลไปยังสหรัฐฯ 800,000 ตัน และประเทศอื่นๆ 200,000 ตัน
ส่วนการนำเข้าน้ำตาลคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ตัน อย่างไรก็ตาม GCMA ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการส่งออกของเม็กซิโกที่ยังคงไม่ชัดเจน
          - บริษัทที่ปรึกษา Datagro คาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลในภาคกลาง-ใต้ ของบราซิล ปี 2568/2569
ที่ 42.00 - 43.20 ล้านตัน และปริมาณผลผลิตอ้อยที่ 590 - 620 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 39.30 ล้านตัน และ
602 ล้านตัน ในฤดูการผลิตก่อนหน้า ตามลำดับ โดยบริษัทที่ปรึกษา G7 Agro Consultoria ระบุว่า ฝนที่ตกในช่วงที่ผ่านมาจะช่วยให้อ้อยสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้คาดว่าจะไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ขณะที่ Climatempo กล่าวว่า ปริมาณฝนในปีหน้าของบราซิลมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าฝนส่วนใหญ่จะตกหนักในช่วงระหว่างกลางเดือนธันวาคม 2567 ถึงปลายเดือนมีนาคม 2568 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากฤดูฝนที่ดีในเดือนพฤศจิกายน 2567 ซึ่งสามารถช่วยเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำของประเทศได้
          - กรรมาธิการน้ำตาลของอินเดีย รายงานว่า ภายหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง โรงงานน้ำตาลทั้งหมด
ในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) จะเริ่มเปิดหีบได้ในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2567 โดยคาดว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลในรัฐมหาราษฏระ รวมส่วนที่นำไปผลิตเอทานอลแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 12.50 ล้านตัน หรือประมาณ 11.30 ล้านตัน หากไม่นับส่วนที่นำไปผลิตเป็นเอทานอล ด้านกระทรวงผู้บริโภคอาหารและการกระจายสินค้าของอินเดียเปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลในมหาราษฏระได้ชำระค่าอ้อยสำหรับปี 2566/2567 แล้วทั้งสิ้นร้อยละ 99.99
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)





 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 986.75 เซนต์ (12.58 บาท/กก.) ลดลงขึ้นจากบุชเชลละ 991.88 เซนต์ (12.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.52
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 289.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 289.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.54 เซนต์ (31.77 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 42.53 เซนต์ (33.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.57



 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.40 ดอลลาร์สหรัฐ (34.97 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ1018.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 816.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 813.8 ดอลลาร์สหรัฐ (28.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,491.20 ดอลลาร์สหรัฐ (51.06 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,486.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 963.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.97 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 960.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 898.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.76 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 895.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท



 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.23 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.15 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,197 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  70.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.74 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.10 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.76 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,200 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย        ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.56 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.13 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.10 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.10 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 366 บาท  ลดลงจากร้อยฟองละ 367 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 351 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 373 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 417 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 437 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 383 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 465 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 520 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.77 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 104.00 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.21 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.97 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน


 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.30 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.06 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.39 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 151.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง   
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา